Health

  • ฮีทสโตรก เกิดได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง
    ฮีทสโตรก เกิดได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง

    ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือโรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน

    ฮีทสโตรก (Heatstroke)  หรือโรคลมแดด คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ประเภทของฮีทสโตรก

    • โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลัง (Exertional heatstroke) เกิดจากการออกกําลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน
    • โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลัง (Nonexertional or classic heatstroke) เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังมักจะไวต่อการเป็นโรคลมแดดประเภทนี้

    ฮีทสโตรก มีอาการแบบไหนและมีสาเหตุมาจากอะไร  

    อาการของโรคลมแดด

    • เมื่ออุณหภูมิร่างกายที่วัดจากภายในร่างกาย เช่น ผ่านทางทวารหนักสูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    • พฤติกรรมหรือสภาพจิตใจเปลี่ยนไป เช่น สับสนเฉียบพลัน หงุดหงิดฉุนเฉียว พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ ชัก หรือโคม่า
    • หากเป็นโรคลมแดดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งและร้อน
    • หากเป็นโรคลมแดดจากการออกกําลังกายอย่างหนัก ผิวจะแห้งและชื้นเล็กน้อย
    • คลื่นไส้และอาเจียน
    • ผิวหนังแดงขึ้น
    • หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบถี่
    • ปวดหัวตุบๆ

    สาเหตุของโรคลมแดด

    • อากาศร้อนชื้น
    • ออกกําลังกายหรือใช้แรงมากขณะที่อยู่ในสภาพอากาศร้อน
    • สวมเสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศหรือหนา ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกได้ อุณหภูมิของร่างกายจึงไม่สูงขึ้น
    • ดื่มน้ำน้อย
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

    ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

    เมื่อพบคนที่เป็นลมแดด หรือสงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะที่คล้ายเป็นโรคลมแดด ควรโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลและกู้ภัย ขณะที่รอความช่วยเหลืออยู่นั้น ควรทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ที่เป็นลมแดดเย็นลงโดยทันที โดยการพาเข้าที่ร่มหรือด้านในตึก หากสวมเสื้อหลายชั้นควรถอดเสื้อชั้นนอกออก ใช้น้ำแข็งประคบหรือวางผ้าชุบน้ำลงบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ หรือฉีดน้ำรดตัว หรือนำผู้ป่วยลงแช่น้ำเย็น

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดฮีทสโตรก

    • อายุ ในเด็กเล็ก ระบบประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ และในผู้สูงอายุ ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อม อีกทั้งยังเป็นวัยที่มักไม่ค่อยดื่มน้ำหากไม่มีใครเตือน จึงทำให้คน 2 วัยนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดมากกว่าคนวัยอื่น
    • สัมผัสกับอากาศร้อนหรือแสงแดดแรงอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน
    • การออกกําลังกายที่ต้องใช้กําลังมากเป็นเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การเล่นฟุตบอล และการฝึกทหาร
    • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยารักษาความดัน (beta-blockers) ยาต้านเศร้า หรือยาสำหรับผู้ที่มีสมาธิสั้น
    • มีประวัติเป็นโรคลมแดดหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน

    การป้องกันฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

    สามารถป้องกันได้ โดยสามารถอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนได้อย่างปลอดภัยหากทําตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่บริเวณอากาศร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิน 40 องศาเซลเซียส
    • ปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมงหรือถี่กว่านั้นหากเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ
    • สวมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าเบาบาง ระบายอากาศได้ดี และไม่รัด
    • ดื่มน้ำบ่อยๆ
    • งดทํากิจกรรมหนัก ๆ หรือออกกําลังกายในสภาพอากาศร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายในตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็นแทน
    • หากเพิ่งเดินทางไปถึงประเทศที่มีอากาศร้อนจัด ควรใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อย ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนมีแนวโน้มที่จะป่วยจากอากาศร้อน
    • ไม่ปล่อยให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในรถที่จอดทิ้งไว้ในที่ที่อากาศร้อนเพราะอุณหภูมิในรถอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 11 องศาเซลเซียสภายใน 10 นาที การจอดรถในที่ร่มหรือเปิดหน้าต่างรถไม่ช่วยให้ไม่เป็นโรคลมแดด
    • ระมัดระวังหากกําลังรับประทานยาบางชนิดหรือมีโรคประจำตัวที่อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการโรคลมแดด

    ฮีทสโตรก

    ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นฮีทสโตรก Heat Stroke 

    • เด็ก ,ผู้สูงอายุ
    • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
    • คนที่ทำงานในที่อากาศร้อนชื้น
    • ผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ๆ ในบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด หรือนักกีฬาสมัครเล่น
    • ทหารผู้ที่ไม่ได้เตรียมร่างกาย เมื่อต้องเข้ารับการฝึก
    • ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด

    การตรวจวินิจฉัย และการรักษาฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด

    โรคลมแดดมักจะแสดงอาการชัดเจน แต่แพทย์อาจให้ตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอวัยวะและตัดสาเหตุอื่น ๆ ทิ้ง

    • การวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนัก เป็นวิธีที่แม่นยำกว่าการวัดอุณหภูมิทางปากและหน้าผาก
    • การตรวจเลือด เพื่อประเมินความเสียหายของอวัยวะภายในโดยการตรวจสอบระดับก๊าซในเลือด รวมถึงสารเกลือแร่ในเลือด ค่าตับ ไต การวัดการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
    • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่าไตและกล้ามเนื้อมีความเสียหายหรือไม่ อาการป่วยจากอากาศร้อนมักจะทําให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น
    • การตรวจกล้ามเนื้อ เพื่อดูว่ามีภาวะกล้ามเนื้อสลายหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหายหรือไม่
    • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายสมอง ถ้าสงสัยว่าอาการที่เป็น เกิดจากภาวะอื่นของสมอง

    การรักษาโรคลมแดด

    แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดต่อสมองและอวัยวะสําคัญ

    • การแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิและลดความเสี่ยงที่อวัยวะจะได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต
    • เทคนิคการระบายความร้อนลดอุณหภูมิ ด้วยการพ่นละอองน้ำเย็นลงบนร่างกายขณะที่เป่าลมจากพัดลมเพื่อทำให้เกิดการระเหยที่เร็วขึ้นและทำให้ผิวเย็นลง
    • การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งห่มตัวและประคบน้ำแข็งลงบนคอ หลัง รักแร้ และขาหนีบ
    • แพทย์อาจให้รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดสั่นจากการลดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีข้างต้น เพราะการที่ร่างกายสั่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร

    การรักษาตัวเองที่บ้าน

    หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะการพยายามลดอุณหภูมิร่างกายเองนั้นอาจไม่สำเร็จ ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายตัวจากอากาศร้อน ซึ่งยังไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรพยายามลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม โดยทำได้ตามวิธีดังนี้

    • ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ฉีดน้ำเย็นรดตัว ร่วมกับใช้พัดหรือพัดลม
    • อาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำเย็น หากอยู่กลางแจ้งอาจแช่ตัวในลําธารหรือแม่น้ำ
    • นั่งในที่ร่ม หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า
    • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่สูญเสียไป
    • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทําให้ปวดท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

    อาการของโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

    1. อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์
    2. มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
    3. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
    4. น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก
    5. เหงือกสีแดงเข้ม
    6. มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    วิธีการปฐมพยาบาลโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น

    การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคลมแดด สิ่งสำคัญคือการทำให้อุณหภูมิร่างกายของสัตว์ลดลงแต่อย่าให้ลดลงเร็วจนเกินไป โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

    1. ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด ให้นำน้องมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกทันที จากนั้นถอดเสื้อผ้าหรือปลอกคอที่ทำให้สัตว์อึดอัดออก
    2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว รวมถึงเช็ดใต้ฝ่าเท้า รักแร้ และขาหนีบ เพื่อช่วยระบายความร้อนควรใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำที่อุ่นเกินไป เพราะสัตว์อาจเกิดภาวะช็อคได้
    3. นวดบริเวณขาเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

    เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด และห้ามให้ยาโดยไม่ได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เด็ดขาด

    วิธีป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

    อาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) มักเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นสูง เจ้าของต้องคอยสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตนเองบ่อยๆ เวลาเขาวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย หากสุนัขดูหอบมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของฮีทสโตรก ควรหลีกเลี่ยงการให้สัตว์เลี้ยงไปอยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี และวางน้ำไว้ให้สัตว์ได้กินตลอดเวลา อาจจะเพิ่มน้ำแข็งสักก้อนให้เขาได้เลียคลายความร้อน

    ฮีทสโตรกเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับสัตว์เลี้ยงมากๆ เพราะประเทศไทยอากาศร้อนตลอดเวลา โรคลมแดดเลยมีโอกาสเกิดขึ้นกับน้องสัตว์ได้เสมอ ดังนั้นเจ้าของควรใส่ใจและสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์ที่เราเลี้ยงควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วพามาพบสัตว์แพทย์ทันที

    หากพบผู้มี “อาการโรคลมแดด” ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  ufabet1995.net

    สนับสนุโดย  ufabet369

Economy

  • สิทธิของผู้ใช้ บริการทางการเงิน
    สิทธิของผู้ใช้ บริการทางการเงิน

    ในการใช้ บริการทางการเงิน เช่น การฝาก-ถอนเงิ​น การขอสินเชื่อ และธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ นอกจากเราที่เป็นผู้ใช้บริการหรือลูกค้าควรมีความรู้และความเข้าใจในลักษณะของบริการที่สนใจหรือกำลังใช้อยู่แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก็คือความรู้และความเข้าใจในสิทธิของตนเอง มาดูกันว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินมีอะไรบ้าง​

    สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องของผู้ใช้ บริการทางการเงิน (Right to be informed)

    ในการเข้าไปใช้บริการของสถาบันการเงิน การได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินต้องอธิบายเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ลูกค้าทราบอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น ความแตกต่างระหว่างบริการเงินฝากกับผลิตภัณฑ์ด้านประกันและหลักทรัพย์ เงินฝากกับตั๋วแลกเงิน ผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท สิทธิและข้อผูกพันตามสัญญา รวมถึงการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการขายที่ต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริงไม่ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลสำคัญที่เราต้องใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการแต่ละประเภท คือ อัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆ รวมทั้งเบี้ยปรับที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ได้ทำตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเราสามารถสอบถามหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันการเงินตามช่องทางต่าง ๆ เช่น ถามพนักงาน ดูจากประกาศที่ติดไว้ทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาที่ทำการ และเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้น ๆ

    สิทธิที่จะเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระของผู้ใช้ บริการทางการเงิน (Right to choose)

    ในฐานะเจ้าของเงินซึ่งเป็นทั้งผู้รับและเสียผลประโยชน์โดยตรง เราควรเลือกใช้บริการทางการเงินที่ต้องการจริง ๆ เท่านั้น ที่สำคัญอย่าลืมว่าลูกค้าอย่างเรามีอิสระในการเลือกใช้บริการ เช่น เลือกที่จะทำบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต หรือไม่ทำบัตรใด ๆ ก็ได้ถ้าไม่ต้องการเมื่อเปิดบัญชีเงินฝาก ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อประกันชีวิตที่สถาบันการเงินนั้นเป็นนายหน้าจำหน่ายหรือต้องฝากเงินในจำนวนสูง ๆ หากต้องการเช่าตู้นิรภัย อีกอย่างหนึ่งที่ได้ยินได้ฟังกันบ่อย ๆ ก็คือ บางคนตัดสินใจใช้บริการทางการเงินทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้อยากใช้แค่เพราะรู้สึกสงสารหรือเกรงใจพนักงาน เช่น ช่วยซื้อประกันชีวิตเพื่อให้พนักงานมียอดขายถึงเป้า ทั้ง ๆ ที่มีกรมธรรม์คุ้มครองเพียงพอแล้ว การช่วยกันเป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องทำให้พอดี อย่าให้เข้าทำนอง “เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด” จะดีกว่า

    สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (Right to be heard)

    หากพบว่าสถาบันการเงินปฏิบัติกับเราไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม เช่น ให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน บังคับขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เงินฝากในบัญชีสูญหาย ให้รีบแจ้งต่อหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนของสถาบันการเงินแห่งนั้น เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องให้หลักฐานที่แสดงว่าได้รับเรื่องร้องเรียนของเราไว้แล้ว และจะต้องแจ้งผลการดำเนินการให้ทราบในเวลาที่เหมาะสมด้วย แต่ถ้ายังไม่ได้รับการติดตามแก้ไขปัญหาให้เท่าที่ควร เราสามารถติดต่อร้องเรียนและขอคำปรึกษาปัญหาทางการเงินได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ

    บริการทางการเงิน 1

    สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย (Right to redress)

    หากได้รับความเสียหายจากการใช้บริการของสถาบันการเงิน เช่น ระบบไม่ตัดเงินจากบัญชีเพื่อชำระยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตทำให้มีหนี้ค้างชำระ กดเงินจากตู้เอทีเอ็มแต่ไม่ได้รับเงิน เจ้าหน้าที่ขโมยเงินจากบัญชี และธุรกรรมทางการเงินในลักษณะอื่น ๆ ซึ่งหากมีการพิสูจน์หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่าเกิดจากความผิดพลาดของสถาบันการเงินเอง หรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย เราก็มีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหายนั้น ซึ่งสถาบันการเงินต้องแจ้งผลการดำเนินงานและกระบวนการพิจารณาการชดเชยความเสียหายให้เราทราบด้วย อย่างไรก็ตาม หากเป็นความผิดพลาดของเราเองสถาบันการเงินก็ไม่จำเป็นต้องชดใช้ความเสียหายให้ เช่น โอนเงินจากตู้เอทีเอ็มไปผิดบัญชีหรือใส่จำนวนเงินผิด

    สิทธิของผู้มีประวัติในเครดิตบูโร

    เมื่อเราได้รับสินเชื่อหรือบัตรเครดิตจากธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง หรือสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ข้อมูลของเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ (ยกเว้นหมายเลขโทรศัพท์) เลขบัตรประจำตัวประชาชน ประวัติการชำระหนี้ สินเชื่อหรือบัตรเครดิต ฯลฯ จะถูกส่งมาจัดเก็บ รวบรวมไว้ที่เครดิตบูโรตามที่กฎหมายกำหนด ประวัติที่เก็บนั้นจะมีทั้งประวัติการชำระหนี้ที่ตรงตามกำหนดและประวัติการค้างชำระหนี้ ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเราในฐานะที่เป็นผู้ถูกเก็บข้อมูล (เรียกในทางกฎหมายว่าเจ้าของข้อมูล) มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนี้

    1. สิทธิเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล

    เครดิตบูโรจะเปิดเผยข้อมูลของเราได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ ​​​

    1.1 เมื่อเราอนุญาตให้เครดิตบูโรเปิดเผยแก่ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง หรือสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรที่เราไปขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิตกับสถาบันการเงินนั้น ในทางปฏิบัติเราจะเซ็นชื่อในหนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับใบสมัครสินเชื่อ​

    1.2 เมื่อกฎหมายอนุญาตหรือกำหนดไว้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งศาล พนักงานสอบสวน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และในบางกรณี เมื่อเปิดเผยข้อมูลของเราแล้ว เครดิตบูโรจะต้​องมีหนังสือแจ้งให้เราทราบภายในสามสิบวันว่ามีการเปิดเผยข้อมูลของเรา

    1. สิทธิที่จะรู้ว่าเครดิตบูโรเก็บรักษาข้อมูลอะไรของเราบ้า​ง

    ซึ่งเราในฐานะเจ้าของข้อมูลตามกฎหมายสามารถขอดูและตรวจสอบความถูกต้องได้ และหากพบว่าข้อมูลที่จัดเก็บนั้นไม่ถูกต้อง เราก็มีสิทธิ์ที่จะโต้แย้งและขอแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น ชื่อ-นามสกุลไม่ถูกต้อง วัน เดือน ปีเกิด ไม่ถูกต้อง ประวัติการชำระหนี้หากมีหลักฐานแล้วว่ามีการชำระหนี้จริงแต่ประวัติที่ตรวจสอบไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเราสามารถแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ทั้งที่เครดิตบูโร หรือแจ้งแก้ไขที่สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร (ซึ่งเรามีสินเชื่อหรือบัตรเครดิต กับสถาบันการเงินนั้น)

    1. สิทธิในการขอให้เครดิตบูโรบันทึกข้อโต้แย้งถึงความไม่ถูกต้องของข้อมูลไว้ในบัญชีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีปัญหากับสถาบันการเงินและหาข้อยุติกันไม่ได้
    2. เมื่อเราขอบันทึกข้อโต้แย้งไว้แล้วเรามีสิทธิอุท​ธรณ์ข้อโต้แย้งนั้นต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

    ซึ่งอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บันทึกข้อโต้แย้ง

    1. ถ้าสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ/บัตรเครดิตให้เราเพราะข้อมูลเครดิตของเรา เขาต้องออกเป็นเอกสารหนังสือปฏิเสธสินเชื่อให้เราเท่านั้น

    จะอ้างเป็นคำพูดลอย ๆ ว่าติดเครดิตบูโร หรือบอกว่าติดแบล็คลิสต์ หรือใช้ SMS แจ้งไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เราถือเอกสารหนังสือนั้นมาตรวจสอบข้อมูลของเราที่เครดิตบูโรได้ฟรี ตัวเราจะได้ทราบว่าเพราะอะไรหรือมีอะไรในประวัติของเรา ที่สถาบันการเงินระบุว่าเป็นสาเหตุที่ไม่อนุมัติสินเชื่อ/บัตรเครดิตให้เรา ในทางปฏิบัติเครดิตบูโร จะดำเนินการสอบถามความถูกต้องของข้อมูลไปยังสถาบันการเงินที่เราเป็นลูกค้าว่า ข้อมูลที่ส่งมานั้นตรงกับข้อเท็จจริงกับที่ลูกค้ามีหรือไม่ เช่น ในหนังสือปฏิเสธสินเชื่อบอกว่า ในเดือนปัจจุบันเรายังค้างชำระอยู่ แต่ในข้อเท็จจริงในเดือนเดียวกันนั้นเราได้มีการชำระหนี้ปิดบัญชีไปแล้วอย่างนี้เป็นต้น หากข้อมูลไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เครดิตบูโรยืนยันว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นจะได้รับการแก้ไข ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องนั้นไปขอสินเชื่อใหม่อีกครั้งได้


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    Andy Murray ได้รับการฟื้นคืนที่น่าประทับใจ อดีตนักเทนนิส
    วิธีปลดล็อก Chocobo Riding Final Fantasy 16
    “เซห์ร่า กูเนส” สื่อนอกยกสวยสุดนักตบลูกยาง
    มันทรงพลังที่สุดในฐานะประสบการณ์แบบโต้ตอบ
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.ufabet1995.net/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.bot.or.th